หากพูดถึงปู่ศรีสุทโธนาคราชและแม่ย่าศรีปทุมมาแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักเป็นแน่ แต่มีใครบ้างที่รู้จักประวัติของท่าน ที่มาที่ไป โด่งดังมาจากไหน วันนี้ทีมงาน Shivaya Dhevalai จะมาเล่าให้ฟัง
ปู่ศรีสุทโธนาคราชและแม่ย่าศรีปทุมมาเป็นพญานาคราชตระกูลเอราปถะ มีวรกายสีเขียวมรกตและสีเขียวตองอ่อน มี”พรหมประกายโลก”หรือ”วังนาคินทร์”เป็นสถานที่ประทับหรือที่เรียกติดหูกันก็คือ “คำชะโนด” ซึ่งอยู่ระหว่างตำบลบ้านม่วง และ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธาณี
ชาวบ้านแถวนั้นมักเรียกท่านปู่ศรีสุทโธว่า “จ้าวปู่ศรีสุทโธ” และเรียกแม่ย่าศรีปทุมมาว่า “จ้าวย่าศรีปทุมมา” จ้าวปู่ศรีสุทโธนั้นสามารถแผลงเศียรได้ 9 เศียร จ้าวย่าศรีปทุมมานั้นสามารถแผลงเศียรได้ 5 เศียร ทั้งสองพระองค์ทรงชอบฟังธรรมจากพระอริยสงฆ์เป็นอย่างมาก
จ้าวปู่ศรีสุทโธ และ จ้าวย่าศรีปทุมมานั้นเป็นพญานาคที่มีจิตใจที่เมตตาต่อมนุษย์และสรรพสัตว์เป็นอันมาก เชื่อว่า ผู้ใดอธิฐานจิตขอพรต่อท่านและไม่เป็นสิ่งที่เบียดเบียนต่อผู้อื่นท่านก็มักจะให้พรให้สำเร็จ ทั้งเงินทอง และ โชคลาภ ทั้งนั้นต้องเป็นพรที่ไม่เหนือไม่กว่าวิบากแห่งกรรม
วิธีบูชาปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมมา ถวายด้วยผลไม้ น้ำเปล่า และ ถ้ามีดอกมะลิก็ถวายด้วยก็ดี และถวายใข่ให้แก่บริวารของจ้าวปู่
คาถาบูชา
- คาถาบูชาพญานาค
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
“นะติตัง พญามะ นาคะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ”
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
กายะวาจาจิตตัง อะหังวันทา
นาคาธิบดี ศรีสุทโธ
วิสุทธิเทวา ปูเชมิ ( 3 ครั้ง )
- คาถาบูชาจ้าวปู่พญานาคาธิบดีศรีสุทโธ
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
ทุติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
ตะติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
เมตตัญจะมหาลาโภปิโยนาคะ ขันธปริตตัง (คาถาขอทรัพย์พญานาคราช)
- คาถาบูชาจ้าวย่านางพญา นาคิณีศรีปทุมมา
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ
ทุติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ
ตะติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ
เมตตัญจะมหาลาโภปิโยนาคะ ขันธปริตตัง (คาถาขอทรัพย์พญานาคราช)